4 ม.ค. 2563

บทความ  พรุ่งนี้ ยังจะเหมือนเดิมอีกไหม "กาแป๊ะฮูลู บ้านเรา"
เป็นบทความที่ผู้เขียนได้แสดงความรู้สึกอีกมุมหนึ่งของชุมชนกาแป๊ะฮูลู ที่ผู้เขียนรู้สึกว่าอะไรๆบางอย่างในชุมชน กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ที่ละนิดที่ละน้อย  ค่อยๆหายไป ตามกาลเวลา สุดท้ายอนาคตบ้านเราจะเป็นเช่นไร จะมีคนสักกี่คน  ที่เฝ้ามองดูการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาบ้านเกิดของตัวเอง    ครั้งหนึ่ง " ปลาย ทาง " ได้มีโอกาสไปยืน ณ จุดหนึ่ง ด้านตะวันตก ของกำแพงรอบๆชุมชน นั้นก็คือสวนยางบนเขารอบๆชุมชน   ำเรื่องราวอีกมุมหนึ่งของความรู้สึกมาเขียนในบล็อก
ภพ
ภาพ..กิจกรรมฮารีรายาอิดิลฟิตรี ครั้งที่ 4  ประจำปี 2556  ณ โรงเรียนเทศบาล 4 บ้านกาแ๊ป๊ะฮูลู
จัดกิจกรรมโดยกลุ่มเยาวชนคนรักษ์ถิ่นพรมแดนเบตง ชุมชนกาแป๊ะฮูลู เป็นการจัดกิจกรรมโดยกลุ่มเยาวชนในชุมชนกาแป๊ะฮูลู กลุ่มเยาวชนคนรักษ์ถิ่นพรมแดนเบตง

16 ก.ค. 2556

การบริหารชุมชนกาแป๊ะฮูลู



เส้นทางสู่การพัฒนา"ชุมชนกาแป๊ะฮูลู" สู่อาเซียน


เพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาชุมชนกาแป๊ะฮูล 


  1. ตั้งคณะกรรมบริหารจัดการประปาชุมชน 
  2. ตั้งคณะกรรมการบริหารคลังชุมชน
  3. ตั้งคณะกรรมการกองทุนเพื่อสวัสดิการชุมชน
  4. ตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการตลาดนัดชุมชน
  5. ตั้งคณะกรรมการบริหารธนาคารชุมชน

การสร้างชุมชนให้น่าอยู่



  1. โครงการรั้วสนามฟุตซอล  
  2. โครงการศูนย์สุขภาพชุมชน (ประชาชนแข็งแรง)
  3. โครงการปรับภูมิทัศน์อ่างเก็บน้ำชลประทานชุมชนกาแป๊ะฮูลู ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
  4. โครงการแม่น้ำลำคลอง ใส สะอาด 
  5. โครงการเสียงตามสาย
  6. โครงการแสงสว่างสู่..กุโบร์
  7. โครงการตลาดนัดชุมชน
โครงการพัฒนาชุมชนหรือกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน สร้างชุมชนเข็มแข็งถ้าประสบความสำเร็จนั้น จะต้องใช้การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ จะเป็นกรอบกันบัง..

8 มิ.ย. 2556

จำได้ว่า..ครั้งหนึ่งผมได้เดินทางไปเกาะหินงาม จังหวัดสตูล เป็นเกาะเล็กๆแห่งหนึ่งในท้องทะเลจังหวัดสตูล เกาะเล็กๆแห่งนี้ เป็นเกาะที่มีหินสวยงามมากมายที่ทับซ้อนกันเป็นเกาะกลางทะเลอันดามันแห่งนี้ ถ้าใครเคยไปเกาะนี้มาแล้ว จะทราบกันดี หินงามสะดุดตา ใครมาที่นี ก็อยากจะเอาหินกลับไปด้วย การเอาหินงามติดไม้ติดมือกลับบ้านไป ทำให้หินงามที่นี่เหลือน้อยลง มันก็จะหมดไป แต่เกาะหินงามที่นี่มีประวัติที่สามารถรักษาความงามของเกาะหินงามได้ ยังรักษาหินงามก้อนเล็กก้อนใหญ่บนเกาะนี่ให้สวยงามคงเดิม ดังเรื่องเล่าของคนสตูล ใครก็ตามมาเที่ยวเกาะหินงามแล้ว เอาหินงามกลับไปด้วย เขาว่าจะมีอันเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง...

ชุมชนการแป๊ะฮูลู


ประวัติชุมชนกาแป๊ะฮูลู

สาเหตุ ที่ตั้งชื่อชุมชนกาแป๊ะฮูลู เนื่องจากว่าถิ่นนี้มีต้นกาแป๊ะ ซึ่งเป็นไม้ยืนต้น มีผลเป็นฝักยาวคล้ายถั่ว มีเป็นจำนวนมากบริเวณลำคลอง และบริเวณนี้เป็นส่วนที่เหนือที่สุดของคลองเบตง ซึ่งภาษายาวีเรียกว่า ฮูลู จึงเรียกว่ากาแป๊ะฮูลู ในสมัยก่อนชาวจังหวัดปัตตานีและจังหวัดอื่น ๆได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่นี้มาเป็นเวลานานกว่า 300 ปีแล้ว นั้นก็เป็นที่มาของชุมชนกาแป๊ะฮูลู มีประชากรประมาณ 1,643 คน 353 ครัวเรือน ชุมชนกาแป๊ะฮูลูมีพื้นที่เป็นที่ลุ่มเชิงเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนยางพารา บ้านเรือนส่วนใหญ่อยู่บริเวณที่ลุ่มเชิงเขาและสร้างบ้านติด ๆ กัน มีพื้นที่ทั้งหมด 1780 ตารางวา เป็นที่อยู่อาศัย 50 ไร่ ที่เหลือเป็นสวนยางพาราและสวนผลไม้ อาณาเขตเริ่มจากถนนสุขยางค์ (เลขคู่- คี่)เลขที่ 421 – 673 บ้านซาโห่ เลขที่ 500 - 500/30 และถนนกาแป๊ะฮูลู1จำนวนประชากร 1,643 คนชาย จำนวน 830คน หญิงจำนวน 813 คน การประกอบอาชีพ 1. ทำสวนยาง 2. รับจ้างทั่วไป 3. เลี้ยงสัตว์ 4. ปลูกผัก การนับถือศาสนา ศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ สถานที่สำคัญในชุมชน 1. โรงเรียนเทศบาล 42. โรงเรียนตาดีกา 3. มัสยิดอัลชุนนะห์4. ตลาดกลางการเกษตร/ศูนย์รวมราชการชายแดนใต้5.โรงผลิตกาแฟโบราณ (กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรนารีพัฒนา)6.โรงผลิตหมี่ (กลุ่มแม่บ้านร่วมใจพัฒนา)7. สุเหร่ากาแป๊ะก.ม.58.ด่านพรมแดนเบตง 9. สหกรณ์กลุ่มแม่บ้านนารีพัฒนา 10.ด่านตรวจคนเข้าเมืองเบตงวิสัยทัศน์ชุมชน “ชุมชนกาแป๊ะฮูลูน่าอยู่ มีจิตสำนึก”
ชุมชนกาแป๊ะฮูลู อยู่ในเขตปกครองของเทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ปัจจุบันชุมชนกาแป๊ะฮูลู มีนายอิชฮะ กาเดร์ เป็นประธานชุมชนกาแป๊ะฮูลูและนายอัสมี  สาและ เป็นรองประธานชุมชนกาแป๊ะฮูลู 

2 พ.ค. 2556

กลุ่มเยาวชนคนรักษ์ถิ่นพรมแดนเบตง

  
กลุ่มเยาวชนคนรักษ์ถิ่นพรมแดนเบตง เป็นกลุ่มที่ก่อตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ ๒๕๕๒ เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนในชุมชนกาแป๊ะฮูลู เพื่อให้เยาวชนมีบทบาทในชุมชนมากขึ้น ให้เยาวชนเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาชุมชน ช่วยเหลือสังคมในชุมชนกาแป๊ะฮูลู การก่อตั้งกลุ่มเยาวชนขึ้นมาครั้งแรกในชุมชนกาแป๊ะฮูลู มาจากเยาวชนที่มีแนวคิดและอุดมการณ์แนวทางเดียวกันในการพัฒนาชุมชนกาแป๊ะฮูลู การก่อตั้งกลุ่มขึ้นมาในปีนั้น เยาวชนได้เข้าร่วมประชุมกลุ่มเป็นครั้งแรก เพื่อให้เยาวชนได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆและในแนวทางการทำงานกลุ่ม การประชุมเยาวชนในครั้งนี้ เปิดโอกาสให้เยาวชนเสนอการตั้งชื่อกลุ่ม และเลือกคณะกรรมการบริหารกลุ่ม การดำเนินการทั้งหมดในการก่อตั้งกลุ่มเยาวชนสำเร็จขึ้นมานั้น เรามีพี่ ชาตรี สะมะแอ (สมาชิกสภาเทศบาลเมืองเบตง)  2 สมัย เป็นที่ปรึกษากลุ่มเยาวชนและให้การสนับสนุนกิจกรรมมาโดยตลอด 
การจดทะเบียนกลุ่มเยาวชนขึ้นกับกองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองเบตง กลุ่มได้จดทะเบียนในนาม"กลุ่มเยาวชนคนรักษ์ถิ่นพรมแดนเบตง"  มีสมาชิกกลุ่มเยาวชนคนรักษ์ถิ่นพรมแดนเบตง       รุ่นที่ ๑/๕๒ จำนวน  ๖๐ คน มีที่ปรึกษากลุ่มฯและพี่เลี้ยง จำนวน ๑๕ คน
๑.นายเกรียงศักดิ์  มะมิง          ประธานกลุ่มเยาวชนคนรักษ์ถิ่นพรมแดนเบตง
๒.นายดาวุธ  มะมิง                รองประธานกลุ่มเยาวชนคนรักษ์ถิ่นพรมแดนเบตง คนที่ 1
๓.นายอาลียัส  บาฮา             รองประธานกลุ่มเยาวชนคนรักษ์ถิ่นพรมแดนเบตง คนที่ 2
๔.นายอับดุลราพา  ยามา        เลขากลุ่มเยาวชนคนรักษ์ถิ่นพรมแดนเบตง
๕.นายมานะ  สะอิ                  ผู้ช่วยเลขากลุ่มเยาวชนคนรักษ์ถิ่นพรมแดนเบตง
  •  กิจกรรมแรกที่กลุ่มเยาวชนคนรักษ์ถิ่นพรมแดนเบตง  จัดกิจกรรมวันฮารีรายา ครั้งที่ ๑/๕
  •  กิจกรรมเยี่ยมผู้ป่วยและผู้สูงอายุในชุมชนกาแป๊ะฮูลู ของทุกเดือน 
  •  กิจกรรมเพิ่มศักยภาพการทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนฯและพบปะเพื่อนสมาชิกกลุ่มของทุกเดือน